Type to search

ศิลปะวัฒนธรรม ไม่มีหมวดหมู่

ที่มาของการก่อสร้างอนุสาวรีย์ พ่อพันท้ายนรสิงห์ ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก สถานที่ก่อสร้าง หมู่ที่ 3 ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

Share
รูปปั้นหุ่นพันท้ายนรสิงห์ เท่าครึ่งตัวจริงของคนธรรมดา ปั้นโดย นายแหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์
อนุสาวรีย์ พันท้ายนรสิงห์ หมู่ที่ 3 ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง (ปัจจุบัน)

สร้างเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2531 เวลาฤกษ์ 15.29 น. ถึงเวลา 15.33 น.

นายแหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์ เป็นผู้ออกแบบ และเป็นผู้จัดการ โรงงานแหลมสิงห์ ซ.วัดเพลงวิปัสสนาราม ใกล้วัดมะลิ ถนนจรัญสนิทวงศ์ 37 กรุงเทพฯ  เป็นผู้ดำเนินการ

โครงสร้าง @… สร้างด้วยโลหะผสม และมีทองชนวนพระพุทธรูป ภปร. ของวัดบวรนิเวศน์วิหาร ผสมอยู่ด้วย ซึ่งนายแหลมสิงห์ ดิษฐพันธ์ ผู้ปั้นรูปนี้ได้มอบให้ผสมลงไปก่อน

การแต่งกาย@…ในท่ายืน พักพาย มือขวาจับพาย ใบพายปักพื้น แต่งชุดนายท้ายคัดเรือพระที่นั่งเอกไชย หลังสะพายดาบ สวมหมวกทรงประภาส มีดุมยอดหมวก (สัญญาบัตร ) เสื้อทรงกระบอกแขนยาว มีลายไทยที่สาบคอเสื้อ ที่ชายเสื้อ ที่ปลายแขนทั้งสองข้าง และกลัดดุมเสื้อเรียบร้อย นุ่งผ้าม่วงยกจีบ มีสนับเพลา ปลายขาสนับเพลา มีลายไทยทั้งสองข้าง มีผ้าไหมสีคาดพุง

ขนาดรูปปั้น@… มีความใหญ่เท่าครึ่งของคนธรรมดา สูง 2 เมตร

สร้างในสมัย@… ยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาลของพรระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9)

ประธานฝ่ายสงฆ์@… พระครุธรรมวิมล (ทองสุข ) เจ้าอาวาสวัดมะลิ กรุงเทพฯ

ประธานฝ่ายฆราวาส@… นายธีรัชย์ พูลท้วม ประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างอนุสาวรีย์

สร้างด้วยทุน@… จากการบริจาคของประชาชนทั่วไปที่ศรัทธา

ค่าหล่อรูปปั้น@… เป็นเงิน 70,000.00 (เจ็ดหมื่นบาท)

ฐานรองรับอนุสาวรีย์ คอนกรีตเสริมเหล็ก ปูด้วยหินอ่อนจากจังหวัดสระบุรี ขนาดฐานกว้าง 8.30 เมตรยาว 12.16 เมตรสูงจากพื้นดิน 10 ซ.ม.อีก 2 ชั้น สูงชั้นละ 8 ซ.ม.และแท่นยืนสูง 1.50 เมตร

การประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งมีท่าน พระครุวิโรจน์จิรคุณ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัดลาดเค้า อ.ป่าโมก จ.อ่างทองสมัยนั้นท่านเป็นผู้ดำเนินการ ดูแลคุมพิธีการต่างๆของสงฆ์ โดยนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูปดังต่อไปนี้

พระครูปาโมกข์คุณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอป่าโมก เจ้าอาวาสวัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

พระครูวุฒิธรรมาทร เจ้าอาวาสวัดโบถส์วรดิตถ์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

พระครูเกษมวุฒิกร เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัดเกตุ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

พระครูสุวรรณพัฒนากร เจ้าอาวาสวัดพายทอง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

พระครูประโชติวิหารการ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ทุนทรัพย์ที่สำคัญในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่ได้บรรลุเป้าหมายนั้นได้มาจาก นายเจริญ นางวรรณา สิริวัฒนภักดีท่านได้บริจาคสมทบทุนจำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ในนามบริษัท สุราทิพย์ศรีอรุณ จำกัด เมื่อคราวทอดกฐินสามัคคี วันที่ 11 ตุลาคม 2530 พิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2532 เวลา 15.09 น.โดยมีนายทวีป ทวีพานิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พันท้ายนรสิงห์ และเรียนเชิญ นายเจริญ นางวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ และเป็นประธานในพิธีทอดผ้ากฐินสามัคคี เป็นผู้กล่าวรายงานการเปิดอนุสาวรีย์ ฯ ในสมัยนั้นรวมระเวลาจากวันนั้นถึงปัจจุบันเป็นเวลา 30 ปีและในวันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2563 นี้องค์การบริหารส่วนตำบล นรสิงห์ ร่วมกับจังหวัดอ่างทอง จัดพิธีรำลึกพันท้ายเรือพระที่นั่งผู้สื่อสัตย์ ยอมอุทิศชีวิตเพื่อรักษาระเบียบวินัย  และบวงสรวงดวงวิญญาณ พันท้ายนรสิงห์ ร่วมวางพวงมาลาสักการะ ที่บริเวณอนุสาวรีย์ ต.นรสิงห์ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นประจำทุกๆปี และจัดให้มีการแสดงเพื่อเป็นเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี พันท้ายนรสิงห์ ที่ว่า “ตายในหน้าที่ ดีกว่าอยู่ ให้อับอาย”  

โบสถ์ของวัดนรสิงห์ในปัจจุบัน
พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของพันท้ายนรสิงห์ ที่บริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ จะทำพิธีทุกๆปี
นายไพรัช ทองหยอด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนรสิงห์ เจ้าภาพหลักในพื้นที่ดำเนินการ วางพวงมาลาสักการะ พันท้ายนรสิงห์
ข้าราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ทหาร ตำรวจ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไปร่วมน้อมรำลึก วางพวงมาลาสักการะ ทุกปี