Type to search

ข่าวทั่วทิศ

เกษตรกรอ่างทองประสบปัญหา วอนรัฐเร่งช่วยเหลือเรื่องภัยแล้ง

Share

เมื่อเวลา 0.7.30 น ของวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เอกราชนิวส์ สื่อท้องถิ่นจังหวัดอ่างทองได้รับแจ้งข่าว และได้ลงพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ หรือ วโรชาฟาร์มสเตย์ หรือที่รู้จักกันในนาม (มะนาวแป้นวโรชา) บ้านดอนปลาสร้อย   หมู่ที่ 8 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน และได้รับการเปิดเผยจากนายวโรชา จันทรโชติ เจ้าของฟาร์มว่าเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 18 พ.ค. 63 ได้เกิดฝนตกลงมา ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อดินหงายท้องลอยตายเป็นร้อยกิโลกรัม โดยเฉพาะปลายี่สก ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลากด สืบเนื่องมาจากน้ำในบ่อดินมีปริมาณน้อย น้ำร้อน และช่วงที่ฝนตกและขาดอ๊อกซิเจน ทำให้ปลาน็อคน้ำ ตนได้เก็บปลาขึ้นจากบ่อดินเกรงว่าน้ำจะเน่าเสียทำให้ปลาที่เหลือจะตายเพิ่มขึ้นอีก

   หลังจากนั้นได้แจ้งไปยังนายไพบูลย์ ศุภบุญ นายอำเภอวิเศษชัยชาญ ท่านได้ส่งเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ เกษตรอำเภอ วิเศษชัยชาญลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอ่างทองมาตรวจวัดค่าของน้ำในบ่อปลาที่เลี้ยงพบว่าค่าอ๊อกซิเจนในน้ำนั้นต่ำมากพร้อมกับแนะนำให้จับปลาในบ่อขึ้นบางส่วนเพราะว่าปลาที่เลี้ยงไว้มีจำนวนมากเกินไปในระดับน้ำที่น้อย ก็สืบเนื่องมาจากภัยแล้งที่ทราบกันดีว่าจังหวัดอ่างทองเรื่องแหล่งน้ำชลประทานทุกแห่งไม่มีน้ำแล้วยังเกิดผลกระทบกับเกษตรกรโดยรวม ซึ่งทางจังหวัดอ่างทองก็ยังมิได้ประกาศเป็นภัยพิบัติภัยแล้งแต่อย่างไร

นายวโรชา จันทรโชติ ยังกล่าวอีกว่าที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางหรือทฤษฏีของพ่อหลวง บนพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งอาหารหรือเป็นครัวของชุมชนในพื้นที่ตำบลไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทองเป็นอย่างดีโดยตนได้จัดกิจกรรมในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ปันน้ำใจให้กัน โดยการทำอาหารกล่อง (ผัดไทย) พร้อมทั้งมอบพันธ์ผักสวนครัวอาทิต้นมะเขือ ต้นกระเพรา ,พริก ต้นโหรพา สะระแหน่ ฯลฯให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงนำไปปลูกในยามวิกฤติเพื่อการดำรงชีพอยู่อย่างพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่เรากิน และกินทุกอย่างที่เราปลูกเป็นการน้อมนำกระแสพระราชดำรัส และโครงการต่างๆของในหลวงรัชกาลที่ 9 นำมาใช้นำมาปฏิบัติในยุคปัจจุบันได้อย่างชัดเจน

   วิกฤติภัยแล้งในครั้งนี้ โดยเฉพาะจังหวัดอ่างทอง เป็นปีที่แล้งมากที่สุดในรอบ 10 ปีและตนคาดว่าหลังจากนี้ต่อไปอีก 2 -3 เดือนถ้าฝนไม่ตกเกษตรกร ทุกประเภท ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนมากกว่าวิกฤติไวรัสโควิด-19 หลายเท่าตัวเพราะพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดอ่างทองเป็นเกษตรกร รายได้รายได้ส่วนใหญ่ซึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม ข้าวพืชผัก (อาหาร) และโดยเฉพาะผู้นำในจังหวัดอ่างทองของเรามักพูดเยินยอให้จังหวัดอ่างทองฟังแล้วดูดีดังคำที่ว่า อ่างทองเมืองน่าอยู่ อ่างทองเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย อ่างทองเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ อะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย ตนอยากฝากถามไปถึงผู้นำทุกระดับว่าขณะนี้จังหวัดอ่างทองของเรามีผลกระทบเรื่องภัยแล้งหรือไม่! และถ้ามีผลกระทบจริง โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมระดับรากหญ้า ซึ่งเสมือนเป็นผู้ผลิตอาหารให้คนไทยทุกผู้ทุกนามได้กินได้อยู่จนทุกวันนี้ ทำไมจึงไม่มีใคร ? เป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหาของจังหวัดอ่างทอง โดยเฉพาะการประกาศเรื่องภัยแล้ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาแก่เกษตรกรที่มีผลกระทบ

Trending & Hot