Type to search

ไม่มีหมวดหมู่

บทสรุปการมีส่วนร่วมพลเมืองอ่างทอง

Share

เราจะเกิดจากไหน ก็เป็นไทยด้วยกัน    ยินดีที่ มาพบกัน 

 ร่วมสัมพันธ์ เรียนรู้เรื่องราว           ทางสายยาว  ผูกเกรียวสัมพันธ์ 

 ร่วมสร้างสรรค์ ให้อ่างทองดีงาม        ร่วมสร้างสรรค์ ให้ประเทศไทย นี้ดีงาม 

ประชาชนกับโอกาสเรียนรู้ตนเองและถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณะ 

        จังหวัดอ่างทอง  ถูกเลือกเป็นพื้นที่เรียนรู้ ศึกษา วิจัย เรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญการรับรู้ ตื่นตัว กับการเลือกตั้งเมื่อวันที่  ๒๔ มีนาคม  ๒๕๖๒  โดยวิธีการเก็บข้อมูล พูดคุย จัดเวทีเชิงวิชาการเพื่อ (๑) เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย (๒) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนและชุมชน ยกระดับคุณภาพการใช้สิทธิเสรีภาพและการเข้ามีส่วนร่วม การทำหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ฯ   (๓) สรุปสังเคราะห์ และถอดบทเรียน ผลบังคับใช้เครื่องมือหรือกลไก การเข้าถึงสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน  (๔) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หรือข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเครื่องมือหรือกลไกการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน 

รูปแบบกิจกรรม(๑) สำรวจความรู้และความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้ง ๒๔ มีนาคม  ๒๕๖๒  ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง    ด้านความสนใจของประชาชน   ด้านการเชื่อมั่น เที่ยงธรรม ของการเลือกตั้ง ด้านปัจจัยในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร    ด้านนโยบายพรรคการเมือง  

        (๒) ศึกษาพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย จัดเวที  ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ การรับรู้ ในสิทธิเสรีภาพ มีส่วนร่วม ที่เข้าถึงไม่ได้ง่าย เพราะเป็นระบบทางการ ที่ชาวบ้านต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย มีกระบวนการขั้นตอนมาก ได้ใช้สิทธิเพียงรูปแบบ ยังไม่เข้าถึงสิทธิเสรีภาพในทางเนื้อหาสาระที่มากพอ  

        (๓) จัดเวทีเครือข่ายประชาชนกับเครือข่ายการศึกษานอกโรงเรียน เครือข่ายสภาเกษตรกร และผู้นำประเด็นที่ ๑ เรื่องสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง การเลือกตั้ง มีข้อเสนอ เรื่องวาระผู้นำ นักการเมือง การเลือก สว. มีปัญหาที่กลุ่มอาชีพไม่ตื่นตัว  เพราะการขาดการให้ความรู้ประชาชนที่มากพอและครบด้านประเด็นที่ ๒ เรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาที่ได้ ๑ ปัญหามลพิษ สารเคมี สิทธิที่ทำกิน  เวทีเสนอนโยบาย เห็นถึงพัฒนาการ ความตื่นตัวและตื่นรู้ของประชาชน โดยมี กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ๑ หน่วยงานราชการ  ๒ สภาเกษตรกร  ๓ สภาองค์กรชุมชน  ๔ เครือข่ายสุขภาพ  ๕ กลุ่มชมรมท่องเที่ยว ๖ กลุ่มผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และผู้สนใจอื่น ๆ เข้าร่วมเรียนรู้ด้วยกันโดยมี 

         อำเภอป่าโมก  นายสมชาติ  ยิ้มละม้าย เรื่อง การบริหารจัดการน้ำ บ่อน้ำชุมชน ธนาคารน้ำใต้ดิน  อำเภอเมือง นายวิจิตร เกษมสุข ผู้แทนฝ่ายท้องถิ่น เรื่องสุขภาพ ทำอาหารเป็นยา มีความปลอดภัย  อำเภอไชโย นายทรงยศ   มะกูดทอง  เรื่องสิทธิที่ดินทำกิน ธนาคารที่ดินพื้นที่แปลงใหญ่  อำเภอโพธิ์ทอง นายสุเทพ บุญยัง เรื่องกฎหมายแรงงานเด็ก   อำเภอวิเศษชัยชาญ พล.ต.สุทัศน์ อยู่นาน เรื่องกำหนดพื้นประกอบอาชีพ และ นายสมพงษ์  คงแช่มดี เรื่องถนนเลี่ยงเมือง อำเภอสามโก้ นายสุรพงษ์ นาคทับทิม เรื่องคนไทยต้องการยึดคุณธรรมตามรอย รัชกาลที่ ๙  อำเภอแสวงหา นายเสริมศักดิ์ นาคะปักษิณ  เรื่องกประชาชนในการตรวจสอบการเลือกตั้งและระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นช่วงเวลาที่ผู้แทนอำเภอ ทำหน้าที่นำเสนอประเด็นทุกคนยึดกติกา ข้อตกลงในการทำหน้าที่ตนอง ที่เป็นตัวอย่างกันและกัน 

            เวทีเสวนาอภิปรายถกแถลง การพัฒนาเชิงนโยบายสาธารณะ การบริหารจัดการในส่วนปฎิบัติของหน่วยงานราชการ และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีนายภราดร  ปริศนานันทกุล  สส.จังหวัดอ่างทอง ที่ให้แนวคิดเพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจรัฐ ปลดพันธนาการ กฎหมาย ออกระเบียบ ตรากฎหมาย แก้รัฐธรรมนูญ และการสนับสนุนกิจกรรมของเกษตรกร และการท่องเที่ยวชุมชนในส่วนกฎหมาย โรงแรมที่พัก โฮมสเตย์ชาวบ้าน รถรับส่งนักท่องเที่ยว  มุมมองการจัดการศึกษาที่คิดต่าง ทั้งในระดับนโยบาย และชุมชน   การเร่งศึกษาการสร้างถนนเลี่ยงเมืองที่ต้องใช้งบประมาณสูง  

            ดร.สุรชัย บุญเจริญ  ประมวลข้อเสนอ สร้างแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะและการบริการภาครัฐ การปฏิบัติของประชาชน โดยยึดข้อมูลเป็นฐานที่ตรงกันเป็นเรื่องที่สำคัญ  

           ดร.สติธร  ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ที่สะท้อนบทเรียนของประชาชน กับความเข้าใจในสิทธิพลเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผ่านมา ค่อนข้างน้อย ในส่วนรัฐที่ดึงอำนาจกลับเข้ารวมศูนย์กลางมากขึ้น ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญดูว่าแก้ยาก แต่จะแก้ได้เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันทุกฝ่าย 

           นายรัฐฐะ  สิริธรังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สะท้อนการทำหน้าที่ของภาครัฐที่มีการแบ่งส่วนเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น  ซึ่งมีระเบียบ กฎหมาย ที่แยกส่วน มีระเบียบกำหนดไว้ การใช้กลไก การทำแผนชุมชน หมู่บ้าน อำเภอและแผนจังหวัด ที่ต้องสอดรับกับยุทธศาสตร์จังหวัดและชาติ 

           นางสาวปัทมา  สูบกำปัง  สถาบันพระปกเกล้า ผู้รับผิดชอบโครงการ ที่สะท้อนผลการวิจัย ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วม การเปิดให้ผู้เข้าร่วมเสนอประเด็นในส่วนที่ตกค้างในช่วงท้าย เรื่องการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา บ่อขยะ การเปิดเผยข้อมูลรัฐและท้องถิ่นที่ไม่ครบถ้วน การทำหน้าที่ของท้องที่ ที่ต้องสนองนโยบาย ทำให้ชาวบ้านรอแต่การช่วยเหลือ และการกระจายอำนาจที่ไม่ถึงประชาชนชนจริงจัง ในส่วนท้องถิ่นกับสถานการณ์การทำหน้าที่ การเลือกตั้ง และการตั้งกระทรวงท้องถิ่น  

           นายประกิต  จันทร์ศรี ประธานชมรมแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ สรุปบทเรียนและข้อเสนอเชิงพัฒนาทั้งส่วนประชาชนและภาครัฐเพื่อการเดินสู่เป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน 

๑ ขอบคุณสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้จัดทำโครงการและสนับสนุนการเรียนรู้ประชาชนจังหวัดอ่างทองเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมของจังหวัดอ่างทอง 

๒ กระบวนการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบันฯ ดำเนินการเป็นรูปแบบที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม มีส่วนร่วม ภาคราชการน่าจะนำไปใช้เป็นตัวอย่าง  และดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องการมีส่วนร่วมน้อยของการจัดเวทีประชาคมในชุมชน  

๓ ผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เป็นประโยชน์ที่เกิดจากโครงการ ได้มีส่วนร่วมสะท้อนปัญหาและความต้องการ ( ตามข้อ ๘ ) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปดำเนินซึ่งจะเป็นการพัฒนาอ่างทองได้ด้วย 

๔ ต้องการให้นำผลการประชุมส่งต่อถึงประชาชน สถาบันพระปกเกล้าควรมีการติดตามผลต่อไป 

๕ ผู้เข้าร่วมประชุมที่ควรดำเนินการคือการนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่เสมือนเป็นวิทยากร แกนนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุผลตามโครงการ 

๖ สถาบันพระปกเกล้า สรุปผลการประชุม เสนอจังหวัดอ่างทองและผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำผล ข้อเสนอแนะไปดำเนินการต่อไป 

๗ สถาบันพระปกเกล้า ผู้เข้าร่วมประชุม ควรติดตามผลการดำเนินการของจังหวัดหรือผู้เกี่ยวข้อง 

๘ ข้อเสนอจากการนำเสนอของที่ประชุมที่ต้องปฎิบัตในส่วนงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ดังนี้ 

    ๑ การพัฒนาคุณภาพประชาชนด้านความรู้   ๒ การบริหารจัดการน้ำที่ครบด้านน้ำแล้งน้ำท่วม    

    ๓ มาตรการด้านการเกษตรราคาตกต่ำ   ๔ การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะ     

    ๕ การลดความเหลื่อมล้ำและโอกาส      ๖ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

    ๗ การปรับแก้ กฎหมาย                      ๘ ควรส่งเสริมกิจกรรมและดำเนินการต่อ    

๙ มีการดำเนินจัดการประชุมต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลเชิงรูปธรรม โดยขอการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า ด้านงบประมาณหรือวิทยากรหรือจากภาครัฐหรือเอกชน โดยเลือกเนื้อหาจากข้อ ๘ และปรับกลุ่มเป้าหมาย วิธีการ และอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 

        เป็นบทสรุปสุดท้ายที่สะท้อนในสิทธิความเป็นประชาชนพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย ในวันนี้……..