เที่ยวอ่างทองเมืองรองไม่เหมือนใคร (3)
Share
ใกล้เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เราขอต่อเรื่องการท่องเที่ยวสายบุญด้วยทริปสองวันหนึ่งคืน ณ อำเภอวิเศษชัยชาญ ด้วยการไหว้พระ9 วัดเพื่อเสริมสิริมงคลต่อจากความเดิมในตอนที่แล้ว.
ทบทวนความเดิมว่าในวันแรก เราเดินทางจากกรุงเทพฯผ่านเส้นทางอยุธยา เลยเข้ามาจังหวัดอ่างทองและได้เริ่มสักการะหลวงพ่อใหญ่วัดม่วง ต่อด้วยตามรอยประวัติศาสตร์ เข้าสู่วัดวิเศษชัยชาญ ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เสด็จมาถึง 2ครั้ง จากนั้นไหว้วีรบุรุษผู้กล้าแห่งแขวงเมืองวิเศษไชยชาญคืออนุสาวรีย์นายดอกและนายทองแก้ว สักการะหลวงพ่อธรรมโชติซึ่งเป็นพระอาจารย์ทีนายดอกและนายทองแก้วเคารพนับถืออย่างยิ่ง หลังจากนั้นเดินทางต่อไปตลาดศาลเจ้าโรงทอง ไหว้หลวงพ่อนุ่ม ณ วัดนางในและไหว้ศาลเจ้าพ่อกวนอู หลังจากนั้นเข้าพักที่พักตามอัธยาศัย จะเลือกพักรีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ตามความสะดวก
สำหรับอาหารอร่อยหากต้องการความอร่อยหรูหราร้านนิรมิตถ้าต้องการความสบายมีอาหารหลากหลายให้เลือกรับประทานที่ตลาดศาลเจ้าโรงทอง มีตลาดถนนคนเดินอาหารอร่อยจากทั่วจังหวัดอ่างทอง. พักค้างคืนหนึ่งคืน.
ยามเช้าตรู่เวลาประมาณ0.5.30 น.ได้เวลามาตลาดศาลเจ้าโรงทอง. มาชมตลาดและรับประทานอาหารเช้าให้เลือกมากมาย. ข้าวต้ม โจ๊ก ปาท่องโก๋น้ำเต้าหู้ กาแฟโบราณ ซึ่งขายมากว่าสามชั่วอายุ คือกาแฟร้านกาเจ๊า และข้าวราดแกงโบราณร้านลุงแก่ ซึ่งขายมานานกว่า50 ปี อร่อยมาก ณ ที่ตลาดแห่งนี้เอาใจสายบุญ เชิญร่วมตักบาตรเก้าวัดบวก หมายความว่าจะมีพระภิกษุจากวัดต่างๆภายในอำเภอวิเศษชัยชาญมารับบิณฑบาตมากกว่า 9 วัด แต่ละวัดจะมาประมาณ3 ถึง5 รูป ดังนั้นการใส่บาตรจึงไม่เหมือนที่ใดๆที่มีพระภิกษุมายืนรอตามร้านขายอาหารที่เคยเห็นเป็นข่าว.
เสร็จจากการใส่บาตรและทานอาหารเช้าแล้ว เตรียมตัวไปไหว้พระที่มีชื่อเสียงอี 6 วัด ก่อนกลับเข้ากรุงเทพมหานคร. เริ่มเดินทางจากตลาดศาลเจ้าโรงทองตรงไปยังวัดนางชำซึ่งอยู่ห่างจากตลาดศาลเจ้าฯประมาณไม่เกิน5 กิโลเมตร. วัดนี้อยู่ในเขตตำบลคลองขนาก ความสวยงามความแปลกตาที่ไม่เหมือนใครๆ. คือรอบอุโบสถมีพระพุทธรูปโดยรอบเป็นสีทองสวยงามตระการตา. เมื่อเข้าไปสักการะคล้ายกับได้รับพร 108 จากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนบริเวณโดยรอบวัด จัดวางวิหารเจดีย์ไว้อย่างสวยงาม สะพานหน้าบริเวณวัดจะมีรูปปั้นของนักรบกล้าแห่งแขวงเมืองวิเศษไชยชาญเรียงรายสง่างาม นอกจากนี้ยังมีภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่สวยงามสุดที่จะอธิบายได้ ทริปนี้จัดให้เที่ยวอ่างทองเมืองรองไม่เหมือนใครจริงๆ.
จากวัดนางชำ ย้อนกลับมายังวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือวัดสี่ร้อย. วัดนี้อยู่ติดริมแม่น้ำน้อย มีหลวงพ่อโตปางป่าเลไลย์ ประดิษฐานงามสง่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่วีรชนผู้กล้าจำนวน 400 คนอาสาไปทำศึกปกป้องแผ่นดินถึงหาดหว้าขาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการนำของท่านขุนรองปลัดชู เมื่อสักการะหลวงพ่อใหญ่ที่ศักดิ์สิทธิแล้วมาไหว้เจดีย์ย่อมุมสิบสองที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บวงสรวงดวงวิญญาณของนักรบทั้งสี่ร้อยคนรวมทั้งท่านขุนรองปลัดชู.และสักการะรูปปั้นขุนรองปลัดชู
ความต่างที่ต้องเล่าสู่กันฟังคือ หลวงพ่อใหญ่องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากช่วงใดที่บ้านเมืองมีปัญหาจะเห็นว่าที่พระเนตรจะมีน้ำตาไหลออกมาเป็นสีคล้ายกับเลือด เป็นอยู่นานหลายสัปดาห์. เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยก็ไม่ปรากฏให้เห็น “ควรรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ” ช่วงเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆที่เกิดขึ้นผู้เขียนก็ได้มาเห็น แต่ขณะนี้บ้านเมืองสงบก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีก นอกจากนี้ใครต้องการสิ่งใดก็มักจะมาขอพรหากสมหวังก็จะมีพวงมาลัยมาถวายหรือบางรายก็จุดประทัดถวาย นี้คือเรื่องที่ไม่เหมือนใคร
จากวัดสี่ร้อยย้อนขึ้นมาห่างจากวัดสี่ร้อยประมาณ2กิโลเมตรมาวัดหลวงสุนทราราม ชาวบ้านเรียกสั้นๆว่าวัดหลวง วัดนี้มีความแปลกและแตกต่างจากวัดอื่นๆคือหันหน้าวัดไปทางทิศตะวันตก โดยมีประวัติกล่าวว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่พม่ามาสร้างขึ้นไว้เมื่อครั้งมาทำศึกกับอยุธยา. เมื่อมาทำศึกก็สร้างวัดขึ้นเพื่อสักการะบูชาและหันหน้าอุโบสถไปทางทิศตะวันตกโดยให้เหตุผลว่าเป็นการสักการะไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อทำการศึกสงครามจะได้โชคดีมีชัย. ชนะศัตรูคู่อริอย่างเด็ดขาด ในปัจจุบันยังมีภาพฝาผนังที่เป็นฝีมือของจิตกรชาวบ้านสมัยอยุธยาตอนปลายที่ใช้สีสันสวยงามมาก เป็นที่น่าเสียดายกาลเวลาทำให้ภาพสวยงามนั้นเลือนรางไป.
เมื่อกล่าวถึงภาพฝาผนังที่สวยงามเก่แก่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน คือวัดเขียน ซึ่งสามารถเดินทางต่อจากวัดหลวงฯผ่านตลาดศาลเจ้าโรงทองออกมาถึงสี่แยกวิเศษชัยชาญตรงไปประมาณ300เมตรทางขวามือเป็นวัดเขียน ซึ่งมีอายุมากกว่า 200 ปีซึ่งปัจจุบันได้รับการดูแลรักษาจากกรมศิลปากร ซึ่งวัดนี้พระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎร มีภาพปรากฏบนธนบัตรที่ระลึกครองราชย์ครบ 60 ปี. สำหรับอุโบสถภายนอกสร้างขึ้นใหม่ครอบอุโบสถเก่าไว้ เพื่อรักษาจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามด้วยฝีมือของช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สีสันสดใสสวยงาม ลักษณะของรูปภาพมีการเล่าเรื่องพุทธประวัติและวิถีชีวิตของชาวบ้านของชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญในยุคนั้น. กาลเวลาผ่านไปทำให้ภาพสวยงามเหล่านั้นลบเลือนและจางหายไปแต่ก็ยังคงสวยงามถึงแม้บางส่วนจะมีสีสันที่จางไปบ้างความงามนั้นก็ยังไม่เปลี่ยนไป ชมความงามภาพฝาผนังแล้วกราบขอพรหลวงพ่อ แล้วเดินทางต่ออีกประมาณหนึ่งกิโลเมตรเข้าสู่วัดอ้อย
วัดอ้อยเป็นวัดเก่าแก่อุโบสถเป็นแบบมหาอุตม์เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายคือไม่มีหน้าต่างและเข้าออกเพียงด้านเดียว ภายในอุโบสถมีพระประธานทีเก่าแก่ที่สุด ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อดำ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ปรารถนาสิ่งใดให้ขอพรจากท่านก็จะสมหวัง. นิยมขอพรเรื่องหน้าที่การงาน เมื่อสมหวังดังตั้งจิตก็จะบวชถวายเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะผู้ชายที่จะบวชเป็นพระก็นิยมมาบวช ณ วัดแห่งนี้ เมื่อขอพรเสร็จเรียบร้อยเดินชมบริเวณวัดโดยรอบร่มรื่นและสวยงามมากในอดีตมีท่าน้ำสวยงามมากอีกวัดหนึ่ง.
ไหว้พระมาได้ 8 วัดแล้วหากท่านหิว วัดใกล้ๆนี้มีก๋วยเตี๋ยวต้มยำสูตรโบราณอร่อยมากอีกแห่งหนึ่งไม่มีชื่อร้านเป็นของชาวบ้าน เรามักจะเรียกกันว่าร้านก๋วยเตี๋ยววัดช้าง ระหว่างสั่งและรอก๋วยเตี๋ยวนั้นจะมีขนมหวานคือขนมถ้วยให้ลองลิ้มชิมเล่นๆไปพลางๆก่อน. หลังจากรองท้องด้วยก๋วยเตี๋ยวต้มยำเรียบร้อยก็เข้าสู่วัดใกล้เคียงกัน คือวัดฝาง.
วัดฝาง วัดนี้เป็นวัดที่ไม่เหมือนวัดใดในภาคกลาง คือเป็นวัดที่สร้างด้วยหินทราย ศิลปขอม เป็นวัดเก่าที่มีความสวยงามแปลกตา มีเนินวิหารเก่า ซากเจดีย์ที่ปรักหักพังตามกาลเวลายังมีสวนป่าที่ร่มรื่น ในอดีตชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ณ วัดนี้เป็นที่ฝังศพนักรบผู้กล้าที่ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก และมีต้นฝางอยู่มากมาย ท่านที่เข้ามาบริเวณวัดแห่งนี้จะมีความรู้สึกได้ถึงความสงบ ความร่มรื่นและเย็นสบายมากด้วยมีต้นไม้ใหญ่ครึ้มตลอดจนถึงริมแม่น้ำน้อย
สภาพวัดฝางในปัจจุบันได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นโดยใช้หินทรายสวยงามตามแบบสมัยใหม่ ซึ่งอุโบสถเดิมก็ยังคงอนุรักษ์ไว้ ให้ทุกท่านได้มากราบสักการะขอพรและชมความงามแปลกตาไม่เหมือนที่ใดในภาคกลาง ณ วัดนี้จะมีงานฝังลูกนิมิตในวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2563 หากท่านใดปรารถนาจะสร้างบุญใหญ่ขอเชิญมาร่วมปิดทองลูกนิมิตแลร่วมงานบุญได้ตามวันเวลาดังกล่าว
สองวันหนึ่งคืนชื่นมื่นรับบุญไหว้พระ9 วัด ได้กุศลอิ่มอกอิ่มใจ ไปจับจ่ายหาของฝากของที่ระลึกป็นมหวานอร่อยของมีชื่อเสียงที่สุดในตลาดศาลเจ้าโรงทองอีกสักครั้ง เช่น ขนมลำเจียก จะทดลอง”ร่อน ม้วน ชิม ช็อป แชะ”. ดูก็ได้มีขนมให้เลือกมากมาย เน้นขนมไทยโบราณและขนมงานมงคล มากมายเลือกซื้อหาได้ตามใจชอบ.
พาเที่ยวมาเนิ่นนาน หลายคนคงสงสัย. เอาใจแต่สายบุญ ที่จริงอำเภอวิเศษชัยชาญมีอะไรๆอีกมากมายเช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สวนเฟิร์นตะนาวะสีที่ยี่ล้นล้วนแล้วแต่เฟิร์นสารพัดชนิด. ท่านใดต้องการท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ก็มีเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ และที่สำคัญคือการล่องเรือเที่ยวไหว้พระริมแม่น้ำชมรังนกกระจาบธรรมชาติที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน.
สนใจสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอวิเศษชัยชาญได้ที่
- หมายเลข 035 631405 ติดต่องานท่องเที่ยว. เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ
- 035 6101130 สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอ่างทอง
- 1672 สายด่วนสอบถามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นี่แหละเที่ยวอ่างทองเมืองรองไม่เหมือนใคร
ครั้งต่อไปนำไปท่องเที่ยวเชิงเกษตรปลอดภัย. สำหรับผู้ที่รักษาสุขภาพ สะอาดและปลอดสารพิษ ส่วนจะเป็นที่ไหนพบกันโอกาสหน้านะคะ
ครูพิม