เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดแก้วกระจ่าง ตำบลสีบัวทองอำเภอแสวงหา นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และ นายทัศนัย สุธาพจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตำบลสีบัวทอง โดยมีนายนรินทร์ อร่ามโชติ นายอำเภอแสวงหา พร้อมด้วยวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง , พุทธสาสนาจังหวัด หัวหน้าสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ และผู้แทนสื่อมวลชนจังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมประชุม
โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หลังจากที่นายสมเกียรติ บริบูรณ์ เจ้าของพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณหมูที่ 5 บ้านสีบัวทอง ตพบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ครอบครองพื้นที่ดินจำนวน 17 ไร่และได้ทำการขุดเปิดหน้าดินจากพื้นที่เดิมลึกลงไปประมาณ 2 เมตรพบร่องรอยการฝังศพของมนุษย์ในอดีตและพบเครื่องดินเผาเป๋นภาชนะฯลฯ เป็นจำนวนมาก จึงประสานไปยังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เข้ามาตรวจสอบ ได้ขุดพบร่องรอยของมนุษย์ โครงกระดูกและโบราณวัตถุหลายรายการ และเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง โดยทางจังหวัด จะจัดตั้งคณะทำงานซึ่งมีศักยภาพสามารถพัฒนาให้เป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แห่งใหม่ของจังหวัดอ่างทอง ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างรายได้ และเป็นแหล่งความรู้ให้กับเด็กและเยาวชนในหลักสูตรเรียนรู้ท้องถิ่น กับการเป็น “นักโบราณคดีตัวน้อย” ให้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย
แหล่งโบราณคดีสีบัวทอง วัดแก้วกระจ่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีที่สำคัญ วัตถุที่จัดแสดงในห้องนั้นได้รับมอบมาจากนายสมเกียรติ บริบูรณ์ หรือ ลุงแจ้ง เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี ที่ขุดค้นพบเมื่อปี 2563 แต่ในส่วนของวัตถุที่ได้จากการขุดค้นโดยกรมศิลปากรยังคงจัดเก็บรักษาไว้ที่มีสำนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต
นางจิราพร กิ่งทัพหลวง (ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา) กล่าวว่า หลังจากการขุดค้นที่ดำเนินการโดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาสิ้นสุดลง และอนุญาตให้เจ้าของที่ดินคืนให้ลุงแจ้ง กลับมาดำเนินการเพาะปลูกต่อได้ มีการขุดค้นพบกลุ่มฝังศพร่วมกับสิ่งของอุทิศในที่ดินอีกจำนวนมาก เช่น เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินกระสุนดินเผาลูกปัดหินเครื่องมือหินขัด กระดูกสัตว์รวมถึงกระดูกมนุษย์
ผลการศึกษาเบื้องต้นโดยกรมศิลปากร สันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีสีบัวทองเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่ กำหนดอายุโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์จากถ่านที่พบในหลุมฝังศพ พบว่าอายุประมาณ 3600 – 3,200 ปี มีเครื่องใช้สำคัญคือ เครื่องหินขัด และยังคงอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงยุคโลหะ (ยุคสำริด) ซึ่งมีหลักฐานที่สำคัญคือกำไรสำริด ที่พบร่วมกับกลุ่มฝังศพ 1 โครง ใบหอกสำริด และฉมวกสำริด กำหนดอายุเบื้องต้นจากฐานที่อยู่ในหลุมฝังศพ ประมาณ 2,800 ปี
ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากการที่ลุงแจ้งและพระครูวิบูลย์วรวัตร เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง ได้ปรึกษากันและนำโครงกระดูกและของ โบราณวัตถุมาไว้ยังวัดแก้วกระจ่างเพื่อเก็บไว้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับท้องถิ่นและผู้ที่สนใจตั้งแต่ปีพ.ศ 2564 และได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ในแต่ละปี จะมีนักเรียน นักศึกษา เดินทางเข้ามาศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จริง ที่ พิพิธภัณฑ์โบราณคดีสีบัวทอง วัดแก้วกระจ่าง แห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ยังได้ตั้งข้อสันนิฐานและการกำหนดอายุจากการดำเนินงานโบราณคดีในช่วงที่ผ่านมาทำให้พอทราบว่าแหล่งโบราณคดีสีบัวทองชุมชนเป็นแหล่งโบราณประเภทที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และพื้นที่พบกิจกรรมปลงศพของมนุษย์ในอดีต และยังพบอีกว่าชุมชนโบราณแหล่งดบราณคดีสีบัวทองมีการอยู่อาศัยได้เป็น 2 สมัย คือ
สมัยหินใหม่ โดยกำหนดอายุจากถ่านที่พบกับโครงกระดูกราว 3600- 3200 ปีมาแล้ว เป็นกลุ่มคนที่ใช้ในยุคนั้นใช้กระดูกสัตว์เป็นเครื่องมือ และเครื่องมือหินขัด มีการปลงศพนอนหงายเหยียดยาวพร้อมเครื่องอุทิศมีภาชนะดินเผาเป็นหลัก
สมัยสำริด กำหนดอายุจากถ่านที่พบร่วมกับโครงกระดูกได้ราว 2800 ปีมาแล้วยังไม่มีข้อมูลเกี่ยกับสำริดมากนักเนื่องจากพบหลักฐานเพียงการฝังศพ จำนวน 1 โครง ทั้งนี้พบว่าในสมัยนั้นมีการสวมกำไลสำริดเป็นเครื่องอุทิศในการปลงศพ
สาทร คชวงษ์ / บรรณาธิการข่าว