พระสงฆ์ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

Share

สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม สมชาย พุกพุ่มพวง เกิดเมื่อวันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 เป็นชาวจังหวัดนครปฐม ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าตำหนัก ตำบลท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2501 โดยมีพระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เจ้าอาวาสวัดท่าตำหนัก เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และในปี พ.ศ. 2516 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค

เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคล ๗๒ ปี สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.๘) กรรมการมหาเถรสมาคม รก.เจ้าคณะภาค ๑-๒-๓ และ ๑๒-๑๓ (ธ.) เลขาธิการคณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร

❖ ลำดับสมณศักดิ์ ❖
พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น #พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พิพิธธรรมโกศล วิมลสุตาคม อุดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร ฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ (นิรันตร์ นิรนฺตโร) วัดเทพศิรินทราวาสฯ
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ #พระอมราภิรักขิต
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ #พระราชธรรมสุธี ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ #พระเทพวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ #พระธรรมวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต สาสนกิจวิวัฒนาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่ #พระพรหมเมธี ศรีปฏิภาณธรรมโกศล สุวิมลคณาทร บวรธรรมวรนายก ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๕๓ ป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามที่ #สมเด็จพระธีรญาณมุนี ศรีชินทัตตวรางกูร วิบูลสีลาจารวิมล คณโสภณเลขาธิกร สุนทรปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

   นอกเหนือจากตำแหน่งหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคมแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี ยังได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ไว้มากมาย เช่น การบูรณะถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ ของวัดเทพศิรินทราวาส เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวัดพุทธดัลลัส สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 83 พรรษา ในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยากไร้และขาดโอกาสเข้าถึงยา ให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย[13]นอกจากนี้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังมีตำแหน่งพิเศษหลักๆ ดังนี้