Type to search

การเมือง

การเมืองภาคประชาชน โดย…นายสุรินทร์ นิลเลิศ

Share

วันนี้ขอพูดถึงเรื่องการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ชาวบ้านต้องห่างเหินการ “กาบัตร “ มานานพอดู  คนกลุ่มหนึ่งอยากให้ มีการเลือกตั้ง แต่อีกกลุ่มบอกยังไม่ต้องเลือกก็ได้ จะทำหน้าที่แทนให้ก่อน (คิดเอง) ก็ได้  ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศพระราชบัญญัติท้องถิ่นในการเลือกตั้ง   แต่กกต. ท่าน ยังหาวันเลือกตั้งไม่ได้  แต่มีข่าวเสนอการจัดตั้งกระทรวงปกครองท้องถิ่น  ขึ้นมาให้ได้มีวงคุยกัน แก้เหงากัน  กรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น (วุฒิสภา) ประชุมวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๒  ถ้าจะใช้คำว่า “ วิเคราะห์ ประเมิน “ สถานการณ์ท้องถิ่นพอจะได้ความ คือ  ความสำคัญของท้องถิ่น ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง สามารถแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นในแต่ละแห่งได้อย่างรวดเร็ว เป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นสถานที่ สำหรับให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย และเป็นรากฐานของการปกครองระบบประชาธิปไตยเป้าหมายการกระจายอำนาจเบื้องต้น คือ การกระจายความรับผิดชอบในการแก้ปัญหา และการพัฒนาพื้นที่ และคุณภาพชีวิต ไปไว้ใกล้ปัญหา และประชาชนสู่ความมีอิสระ ที่ยกเลิกภูมิภาค ยกเลิกกำนันใหญ่บ้าน การเลือกตั้งผู้ว่า ฯ ผลที่ได้ “ บางส่วน “ กับกระบวนการการกระจายอำนาจ  คือ การกระจายการทุจริต การสร้างมาเฟีย เจ้าพ่อ การผูกขาดทางการเมือง และ ท้องถิ่นหาเงินเองยังไม่ได้ ต้องรอพึ่งรัฐบาล (ข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ท่านใหม่ นายประยูร รัตนเสนีย์ได้วางแนวทางการทำงานของท้องถิ่น ใน 6 แนวทาง

   1 ให้คำนึงถึงภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายและนโยบายที่สั่งการโดยตรงมาจากกระทรวงมหาดไทย

   2 ให้ยึดถือภารกิจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2551 อย่างแท้จริง

   3 ให้มุ่งมั่นไปแก้ปัญหาของ อปท.เป็นสำคัญ เพื่อให้ อปท. ให้มีความเข้มแข็งในการจัดทำบริการสาธารณะ

   4 ลดภาระงาน อปท. เพื่อให้ อปท. มีเวลาดูแลประชาชนมากขึ้น โดยทบทวนรายงานที่ให้ อปท. ดำเนินการ ทั้งรูปแบบเอกสารและระบบสารสนเทศหากมิได้ นำมาใช้ประโยชน์เพื่อรักษาสิทธิให้ อปท.หรือการติดตามนโยบายที่สั่งการโดยตรงมาจากกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาทบทวน

   5 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอต้องคงบทบาทการเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ในการกำกับดูแล อปท.ตามกฎหมาย

   6 ให้ยึดหลักธรรมาภิบาล เป็นหลักในการทำงาน

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหาร

ท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องคำนึงการมีส่วนร่วมของประชาชนคำนึงเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่

บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ( เป็นการเสนอเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น )