Type to search

ศาสนา

วัดดังที่อ่างทอง บันทึกเรื่องราวบางระจัน ไว้บนฝาผนังโบสถ์ เพื่อรำลึกถึงความดี วีรชนคนกล้า

Share

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เอกราชนิวส์ ได้เดินทางไปที่วัดหมื่นเกลา ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทองแห่งนี้  ซึ่งเคยได้ทราบข่าวก่อนหน้านั้นว่าวัดแห่งนี้ได้จัดกิจกรรมตู้ศีลธรรมปันสุขโดยทุกๆเดือนก่อนที่จะเกิดโครงการของรัฐ โดยจะนำข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มฯลฯ แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่จำนวนนับพันคนมาก่อนหน้านั้น และที่สำคัญทราบข่าวว่าทางวัดหมื่นเกลาแห่งนี้เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปีซึ่งอยู่ในยุคของกรุงศรีอยุธยาวัดหมื่นเกลาสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2250  ซึ่งพบหลักฐานจากโบสถ์เก่า ใบเสมาศิลาแลงทั้ง 4 ใบบนเนินดิน (โคก)แต่ปัจจุบันยังคงสภาพดีเพียงเสมาเพียงใบเดียวเท่านั้นนอกนั้นชำรุดแตกหักไปตามกาลเวลาชาวบ้านมักเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดเกาะแก้วพิสดาร” เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ สมบัติ ในอดีตสถานที่แห่งนี้ ด้านหลังของวัดแห่งนี้เป็นคูคลองโดยรอบและมีสะพานเป็นโซ่เงินโซ่ทอง เป็นสถานที่ใกล้พระตำหนัก พระรามาธิบดี ตามประวัติที่กล่าวไว้

พระครูนิเทศธรรวิรัช เจ้าอาวาสวัดหมื่นเกลากล่าวว่า วัดหมื่นเกลา ตั้งอยู่เลขที่ 51 บ้านหมื่นเกลา หมู่ที่ 4 ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ มีพระประธานประจำอุโบสถ เป็นพระพุทะรูปปางมารวิชัย และมีพระพุทธรูปเนื้อหยกสีขาวทั้งองค์ ปางมารวิชัย โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นพระประธานประจำศาลาการเปรียญ  วัดนี้แต่เดิมนั้นได้สร้างขึ้นโดยขุนหมื่นเครา ซึ่งเป็นผู้นำของชุมชนแห่งนี้ที่ถวายตัวเป็นข้าบาทในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้ร่วมกับชาวบ้านจัดสร้างเพราะเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมพร้อมทั้งได้กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวฯสร้างถวายเป็นพระอารามหลวง จนได้รับพระราชทานเสมาคู่เนื้อสิลาแลง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านแห่งนี้ และได้นิมนต์นิมนต์พระธุดงค์รูปหนึ่งที่มาปักกลดจำพรรษาและได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดหมื่นเครา” ตามชื่อผู้จัดสร้างต่อมาวัดหมื่นเคราได้ร้างหลายชั่วอายุคน คงเหลือแต่สภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมีเพียงเนินดินกับศาลเพียงตา จนถึงยุครัตนโกสินทร์ วัดหมื่นเครา จึงมีการบูรณขึ้นมาใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อวัดหมื่นเกลาเป็น “วัดบึงเลา”เพราะด้วยเหตุมีบึงอยู่บริเวณหน้าวัด แต่ภายหลังได้เห็นพ้องต้องกันให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัด “หมื่นเกลา” อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องและเพื่อให้สมกับเจตนาของผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมาแต่เดิมและเรียกชื่อวัดแห่งนี้มาจนถึงทุกวันนี้

   พระครูนิเทศธรรวิรัช เจ้าอาวาสวัดหมื่นเกลา กล่าวว่าการสร้างโบสถ์โดยต้องมีจุดหมายหรือวัตถุประสงค์หลัก โดยอันดับแรกต้องมีประธานใหญ่ในโบสถ์ก็คือพระพุทธรูปซึ่งเปรียบเสมือนหรือตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประธานเป็นที่ยึดเหนี่ยวของพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนา ซึ่งวัดหมื่นเกลาแห่งนี้มีพระพุทธรูปศิลาแลงปางมารวิชัย ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี อาตมาจึงพร้อมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามและประดิษฐานเป็นองค์ประธานในโบสถ์แห่งนี้  และเพื่อประโยชน์ใช้ในพิธีของสงฆ์ อีกทั้งยังเป็นถาวรวัตถุสืบทอด พุทธศาสนาต่อไป โดยได้กำหนดพื้นที่เก่าบนเนินขนาดความกว้าง  17  เมตรยาว  29 เมตร  

       

เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2553 ทุนทรัพย์ประมาณไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท

ในการจัดสร้างอุโบสถในครั้งนี้อาตมาได้เล็งเห็นเจตนาของความเป็นไปที่มาของผู้สร้างวัดแห่งนี้ซึ่งเป็นบุคลที่เสียสละและยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไว้ให้ลูกหลานเหลนไทยในทุกวันนี้ได้มีที่อยู่อาศัยอย่างสุขสบาย สมัยกรุงศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรีบางส่วนเรียกว่า แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นเมืองหน้าด้านของกรุงศรีอยุธยา เป็นเสมือนกำแพงเมืองเพื่อต้านทัพที่จะมารบพุ่งตีกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะพม่ารบพุ่งกันมาอย่างยาวนาน จนมีตำนานของผู้กล้า นักรบ หรือที่เราเรียกกันว่า วีรชนบ้านระจัน (บางระจัน) ที่เอ่ยนามเพียงเท่านี้ นายดอก นายทองแก้ว นายอิน นายแท่น นายโชติ นายจันหนวดเขี้ยว นายเมือง นายพันเรือง นายทองแสงใหญ่ นายทองเหม็น ขุนสรรค์ พระอาจารย์ธรรมโชติ นักรบหรือวีรชน คนกล้าของหมื่นเกลาอีก 4 ท่านดังนี้ ขุนหมื่นเครา หลวงบุรีรักษ์ นายปวงทอง และนายเครือวัลย์ ท่านเหล่านี้ปู่ ย่า ตายายเล่าต่อๆกันมา ยังพอมีชื่อให้พวกเราโดยเฉพาะลูกหลานไทยได้จดจำส่วนหนึ่งเท่านั้น แท้จริงแล้วยังมีอีกมากมายในศึกสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาในแต่ละคราว อาตมาเห็นว่าบรรพบุรุษปู่ย่า ตายายของเราเหล่านี้ควรได้รับเทิดทูลหรือได้รับการยกทั้งอดีตและในปัจจุบันด้วย อาตมาก็คือลูกหลานท่านเหล่านี้ เห็นว่าพวกเราควรทำอะไรสักอย่างที่บ่งบอกและเป็นการสำนึกในบุญคุณอันยิ่งใหญ่นี้เพื่อเป็นการทดแทนด้วยการรำลึก จึงคิดทำเรื่องเล่าของวีรชนคนสร้างบ้านแปลงเมือง เป็นภาพจิตกรรมฝาผนังของโบสถ์แห่งนี้โดยช่างผู้เชี่ยวชาญในการปั้นลายทางภาคใต้ของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ในการปั้นรวดลายซึ่งใช้รูปภาพเล่าเรื่องราวของวีรชนครั้งที่ต่อสู้กับพม่าถึง 8 ครั้ง (บางระจัน) ที่ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี ด้วยปูนทั้งหมดที่ฝาผนังในอุโบสถ์ของวัดหมื่นเกลาแห่งนี้ด้วยมือ และบริเวณฝาผนังด้านบนของทิศเหนือได้เล่าเรื่องการทำศึกสงครามที่มีชัยชนะ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้วยกุสโลบายโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระบันชาให้ทหารทุบหม้อข้าว(เสบียง) ก่อนออกรบพุ่งกับพม่าจึงได้ชัยชนะกลับมา ด้วยภาพปูนปั้นสวยงาม และบริเวณด้านหน้าซุ้มประตูของทิศตะวันออกทั้ง 2 ประตูจะเป็นเรื่องเล่าพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพาน อยู่ในกรอบรูปใบโพธิ์ ด้วยปูนปั้นอย่างดงามเช่นกัน และยังมีอีกมากมายกับลวดลายบันได ทางเข้า, พญานาค, หน้าบันโบสถ์ซุ้มหน้าต่าง ฯลฯ

                      

หากสาธุชนท่านใดที่จะมีจิตศรัทธาร่วมสร้างโบสถ์ เพื่อสืบทอดพระศาสนา และเป็นเจ้าภาพสร้างใบโพธิ์ จิตกรรฝาผนังโบสถ์ประดับด้วยมุก ด้านหลังพระประธาน ใบละ 2,999 บาท หรือจะร่วมบุญในการรำลึกวีรชน ด้วยการบริจาคทรัพย์สร้างการปั้นรวดลายต่างๆ ตามกำลังศรัทธา ก็สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ พระครู นิเทศธรรมวิรัช  เจ้าอาวาสวัดหมื่นเกลา เบอร์โทร 063-2635 919