วัดฝาง ตำนานโบสถ์มหาอุตม์ เกจิดังลุ่มแม่น้ำน้อย
Share
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294295_0-820x394.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294365_0-1024x768.jpg)
วัดฝาง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 7 ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดราษฎร์ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 20 ไร่ ตามหลักฐานของกรมที่ดิน เจ้าของที่ดินชื่ออำแดงเนต (โสด) ทิศเหนือติดแม่น้ำน้อย ทิศใต้ติดถนนวิเศษชัยชาญหมู่บ้านไผ่จำศีล ทิศตะวันออกติดที่ดินเอกชน และทิศตะวันตกติดแม่น้ำน้อยมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง โฉนดที่ 6070 อยู่ติดทุ่งไผ่จำศีล มีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา เจ้าของที่ดินชื่ออำแดงเนต(โสด)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294293_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294295_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294363_0-768x1024.jpg)
วัดฝาง สร้างขึ้นเมื่อก่อน พ.ศ. 2300 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง มีอุโบสถมหาอุตม์ กว้าง 6 เมตร ยาว 7.5 เมตร พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2320 มีพระศรีอารยเมตไตรและพระเชียงแสนปางขัดสมาธิเพชร รอยพระพุทธบาทสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มี หอสวดมนต์ไม้สักทองทั้งหลัง เจดีย์เก่าแก่ หน้าวิหารหน้าต่างเวลามหัศจรรย์ที่ต้นโพธิ์ อนุรักษ์ไว้ให้ชมใช้เป็นลานธรรมเหมาะสมอย่างยิ่ง ต้นไม้ยืนต้นอายุ 200 ปีขึ้นไปหลากหลายชนิดให้ชม เช่นต้นโพธิ์ ต้นตะเคียน ต้นมะพลับ ต้นพิกุล ต้นสำโรง ต้นสารภี ต้นปีบ ต้นกรวย และต้นฝางนามเดียวกับชื่อวัดที่นำมาเป็นยาอุทัย
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294355_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294353_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294352_0-1024x768.jpg)
มีอุปัชฌาย์ทองดี เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านเป็นเจ้าคณะแขวงและเป็นพระหมอโบราญ มีกุฏิไม่กี่หลัง เดิมสร้างอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ใกล้กับต้นขนาบในปัจจุบัน ท่านนำท่อนไม่ใหญ่มาขุดเป็นเรือยาว จำนวน 50 ฝีพาย บางครั้งใช้นั่งเดินทางไปเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบทตามกิจนิมนต์ และในที่สุดชาวบ้านได้นำเรือดังกล่าวไปแข่งขันเพื่อความสามัคคี สนุกตามประเพณีจนมีชื่อเสียง สืบเนื่องมาหลายสมัย ที่มีชื่อว่า ‘ แม่ทองคำ” กับ “ช้างร้อง” ปัจจุบันวัดฝางไม่มีเรือดังกล่าวแล้ว อดีตวัดในละแวกบ้านยืมไปพายเข่งขันตามเทศกาลและประเพณีเป็นเวลานานมาก
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294347_0-768x1024.jpg)
ต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 พระอธิการโห้ (สกุลเดิม มาดีประเสริฐ) ซึ่งเป็นชาวบ้านใต้วัดฝาง ได้ริเริ่มนำญาติมากถากถางปรับสภาพสถานที่ด้วยการขนทราย มาถมพัฒนาสถานที่และย้ายวัดมาสร้างในที่ปัจจุบัน มีหอสวดมนต์ที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง มีเสาไม้สักทรงแปดเหลี่ยมตลอดทุกต้นทั้งหลัง พื้นไม้อัดเรียบร้อยสวยงามหาดูได้ยาก ทราบข้อมูลที่หน้าจั่วมีอักษรฉลุด้วยไม้สัก บูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2472 โดยช่างชาวจีนอพยพมาอยู่ในหมู่บ้านไผ่จำศีลติดกับวัดฝางนั้นเอง รวมอายุการก่อสร้างประมาณ 100 ปี และกุฏิทรงไทยจากผู้มีจิตศรัทธาได้ถวายวัด จำนวน 6 หลัง จากนั้นมีเจ้าอาวาสสืบทอดต่อมาพัฒนาวัดด้วยความเจริญรุ่งเรืองตลอดเวลา
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294364_0-768x1024.jpg)
สมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 พระอาจารย์สนั่น จนฺทวณฺโณ พ.ศ. 2495 – 2500 ยุคนี้ที่พระเกจิอาจารย์ นามว่าหลวงพ่อกลุ่ม เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านเป็นพระที่มีวิทยาอาคม เรื่องปราบคุณไสย หมอโบราณรักษา โรคภัยต่างๆได้จนได้รับฉายาว่า จอมขมังเวทย์ เกจิดังแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในอดีต การคมนาคมมาวัดฝางต้องมาทางน้ำเท่านั้น
“หลวงพ่อกลุ่ม พุทธิญาโณ” ได้รับการยกย่องให้เป็นเกจิ แห่งลุ่มแม่น้ำน้อย เนื่องจากพุทธศาสนิกชนให้ความเลื่อมใสและศรัทธาเป็นยิ่งนัก ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม ชื่อเสียงของ หลวงพ่อกลุ่ม พระเกจิลุ่มแม่น้ำน้อยแห่งนี้ก็ยังเป็นที่ศรัทธาและเลื่อมใสจนปัจจุบัน แม้แต่วัตถุมงคลของท่านซึ่งในยุคนี้ยังโด่งดังไม่แพ้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และมีมีราคาแพง ผู้คนต่างที่จะหาเช่าบูชากัน
สมัยนั้นมีการปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหอขวางด้านตะวันออก 1 หลัง (หอสวดมนต์) ศาลาท่าน้ำ 1 หลังหอระฆัง 1 หลัง พร้อมทั้ง ฌาปนสถาน ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 32 เมตรหลังจากนั้นมีเจ้าอาวาสสืบทอดพัฒนาวัดมาด้วยความเจริญรุ่งเรืองตามกาลสมัยต่อมา
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294368_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294360_0-768x1024.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294361_0-1024x768.jpg)
ยุคบุกเบิกการสร้างอุโบสถหินทรายประยุกต์ โดยเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2530- 2558 โดยพระครูธรรมรัต (สมพงษ์ อริยวงฺโส) เจ้าอาวาสองค์ที่ 10 ขณะนั้นอุโบสถหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมลงมาก ท่านได้ริเริ่มร่วมกับชาวบ้านจำนวนหนึ่ง เริ่มด้วยการรับบริจาคทรัพย์ จากการทอดผ้าป่าสามัคคีในการหาทุนสร้างอุโบสถหินทรายหลังนี้ และได้กำหนดวางศิลาฤกษ์อุโบสถหินทรายประยุกต์หลังนี้ และได้นำเนินการก่อสร้างต่อๆมานานถึง 26 ปีจึงแล้วเสร็จ
คราวต่อมาได้มีการแต่งตั้งจากคณะกรรมการของวัด และมีพระยศพร จนฺทสีโล (รักษาการแทน / เจ้าอาวาส ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 12 วัดฝางแห่งนี้ ตั้งแต่ 8 มี.ค. 2559 – 2563 จึงได้พร้อมใจกันจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต อุโบสถหินทรายประยุกต์หลังนี้ โดยได้กำหนดพิธี ฯ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2563
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294255_0-1024x768.jpg)
รายนามเจ้าอาวาส (อดีต – ปัจจุบันเรียงตาลำดับดังนี้
1 พระอุปัชฌาย์ ทองดี พ.ศ. 2300 2 พระอธิการโห้ (สกุลเดิม มาดีประเสริฐ ) พ.ศ.2480
3 พระอธิการจัน (สกุลเดิม สิงหนาท) พ.ศ. 2480-2494 4 พระมหาทวี จนฺทวณฺโณ พ.ศ. 2495-2500
5 พระอธิการสนั่น จนฺทโชโต พ.ศ. 2501 – 2511 6 พระไล้ พ.ศ. 2512-2517
7 พระชิต มนฺญโญ พ.ศ. 2518 – 2522 8 พระพร้อม ฐิตมนฺโต พ.ศ. 2523- 2526
9 พระไพบูลย์ วิปุโล พ.ศ. 2527- 2530 10 พระครูธรรมรัต (สมพงษ์ อริยวงฺโส) พ.ศ. 2530- 2558
11 พระมหารัตนโยธิน วุทฒิสีโล รักษาการฯ พ.ศ. 2558-2559 12 พระยศ จนฺทสีโล (รักษาการ/เจ้าอาวาส ) พ.ศ. 2559- 2563
13 พระมหาสุรศักดิ์ ยโสธโร พ.ศ. 2563- 2564 14 พระครูปริยัติภัทรกิจ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 66 คณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์ ภาค 2 ได้มีการแต่งตั้งพระครูปริยัติภัทรกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัดฝางตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และเป็นอันดับที่ 14 ของวัดแห่งนี้ถึงปัจจุบันนี้
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294354_0-768x1024.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294250_0-768x1024.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294296_0-1024x768.jpg)
พระครูปริยัติภัทรกิจ เป็นเจ้าอาวาสรูปหนึ่งที่มีพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอ่างทองให้ความเลื่อมใสและศรัทธา อีกทั้งยังเป็นพระนักปฏิบัติทางธรรม เป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เป็นพระนักพัฒนาซึ่งได้รับความเคารพเลื่อมใสจากญาติโยมในละแวกใกล้และไกลเป็นอย่างดี เมื่อท่านเอ่ยปากจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะได้รับการยอมรับและสนับสนุนเห็นพร้องต้องกัน โดยไม่ขัดแย้งกัน ยังส่งให้เห็นผลงานจากพระนักพัฒนารูปนี้ได้อย่างชัดเจน หลังจากได้รับการแต่งตั้ง ฯ พระครูปริยัติภัทรกิจได้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธสีวลี ในสถานที่อันควรไว้ภายในวัดให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ อีกทั้งสร้างแพปลาหน้าวัด (แม่น้ำน้อย) เป็นศูนย์รวมใจในการสร้างทานบารมี จัดสร้างสวนหย่อมให้มีน้ำตกเข้ากับป่าไม้ภายในวัด (สวนป่า)ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจใกล้กับลานธรรม อีกทั้งจัดงานลอยกระทงตามประเพณี –วัฒนธรรม กระทงสาย (บริเวณริมแม่น้ำน้อย ) เป็นศูนย์รวมความรัก ความสามัคคี อนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ คู่กับสายน้ำโดยได้รับเกรียติจากนายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ฯพณฯ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งข้าราชการร่วมพิธีฯ เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา เป็นเจ้าภาพในการติดตั้งโคมไฟฟ้าระย้า ไฟฟ้าฯลฯ ติดตั้งฉัตรคู่ เทียนไฟฟ้าคู่ ปูพรหมในโบสถ์หินทรายประยุกต์ จัดทำโต๊ะตั้งรอยพระพุทธบาทในโบสถ์มหาอุตม์ เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำพระสงฆ์และผู้มาเยือน และห้องน้ำผู้พิการ รวมจำนวน 12 ห้องแทนห้องน้ำหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294359_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294362_0-1024x768.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294366_0-1024x768.jpg)
ขอเชิญชวนร่วมพิธีทำบุญบูรพาจารย์ (วันคล้ายวันมรณะหลวงพ่อกลุ่ม และอดีตเจ้าอาวาสของวัดฝาง)
ในวันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น ทางวัดโดยพระครูปริยัติภัทรกิจ พร้อมด้วยคณะกรรมการและสาธุชนได้ประชุมเห็นพร้องต้องกันจะจัดพิธีทำบุญบูรพาจารย์ (วันมรณะหลวงพ่อกลุ่มและอดีตเจ้าอาวาสของวัดฝาง) และจะจัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้นเพื่อหาทุนสมทบการจัดตั้งกองทุนพัฒนาวัดฝาง เพื่อมาใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ ค่าช่างในการบูรณะปฏิสังขรณ์ที่จำเป็นในกิจการภายในวัด เป็นค่าน้ำค่าไฟของวัด
จึงขอเชิญชวนสุชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ หรือบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธาของท่าน เพื่อนำรายได้ไปสมทบกองทุนพัฒนาวัดฝางต่อไปโดยผ่านช่องทางดังนี้ พระครูปริยัติภัทรกิจ เจ้าอาวาสวัดฝาง ประธานสงฆ์ โทร 092-9514793 ,นายชูชีพ วุฒิวัย ไวยาวัจกร ประธานดำเนินงาน 081-9252598,ร้อยตำรวจโทสันติไชย จันทรประยงค์ ผู้ประสานงาน หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี กองทุนพัฒนาวัดฝาง เลขบัญชี 138- 0 – 15957 – 1 สาขาวิเศษชัยชาญ โทรสอบถามข้อมูลที่พระครูปริยัติภัทรกิจ เจ้าอาวาสวัดฝาง โทร 092-9514793
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294248_0-768x1024.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294290_0-768x1024.jpg)
![](https://akekarach.news/wp-content/uploads/2024/02/294367_0-768x1024.jpg)
สาทร คชวงษ์ / บรรณาธิการข่าว