Type to search

กินอิ่มนอนอุ่น มุมสุขภาพ

ชาวบ้านบางระกำที่อ่างทอง ผัดข้าวผัดใส่สมุนไพร กินอย่างไทยไล่โควิด- 19

Share

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เอกราชนิวส์ สื่อท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง ได้รับเชิญไปร่วมกิจกรรม”วันดินโลก” ณ ศูนย์การเรียนรู้บางเจ้าฉ่าอินโนเวชั่นโมเดล ที่ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองได้พบกลุ่มสตรี กลุ่มหนึ่ง 4-5 คนกำลังสาละวนเกี่ยวกับเรื่องการทำอาหาร ข้าวผัด (ข้าวผัดสมุนไพร) เพื่อจัดเลี้ยงผู้ที่มาร่วมกิจกรรม “วันดินโลก “

โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย บุญเจริญ หัวหน้าโครงการวิจัยนวัตกรรมการเกษตร เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวให้ความสนใจและสอบถามยังกลุ่มสตรีดังกล่าวทราบว่า เป็นการทำอาหารที่ปรุงสุกด้วยสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่ในสวน หรือบริเวณรั้วบ้านของตนเอง และปรุงแต่งใช้วัสดุที่มีอยู่อาทิการห่ออาหาร ข้าวผัด ด้วยใบตอง (ใบกล้วย)ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสะลายได้ง่าย ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง (แพ็กเกจ )ที่สวยงามปลอดภัย สมุนไพรที่เห็นในการปรุงอาหาร (ข้าวผัด ) จะสังเกตได้ว่ายังไม่มีร้านอาหาร ร้านค้าประเภทภัตตาคารที่ไหนเคยทำมาก่อนอย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนางประเมินรัตน์ สุขนิมิต เลขที่ 83 หมู่ที่ 4 ต.บางระกำ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เล่าว่าก่อนหน้านี้ทางมูลนิธิสิริพัฒนคุณานุสรณ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์ ) โดยมีร้อยตำรวจเอกสำเร็จ เจียรนัยเจริญ เป็นประธานมูลนินิฯ ได้เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งทางมูลนิธิได้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้พืช ผัก สมุนไพรพื้นบ้านในชุมชนอาทิ กระชาย ตะไคร้ ขิงข่า มะกรูด มะนาว ฟ้าทะลายโจร และอื่นๆอีกมากมายที่อยู่ในชุมชนซึ่งที่ผ่านมาทางมูลนิธิ ฯมีเครือข่ายเรื่องสมุนไพรแปรรูปเป็นยารักษาโรค บำรุง และบำบัด อยู่ในชุมชนแต่เดิมอยู่แล้วช่วงเกิดวิกฤติไวรัสโควิต -19 จึงทำให้เกิดความตื่นตัวพูดถึงการใช้พืชผัก สมุนไพรของไทยเรานำไปรักษาหรือนำไปแปรรูปสกัดเป็นยาหลายชนิดที่มีชื่อแตกต่างกันออกไป เป้าหมายอันเดียวกันเพื่อหาวิธียับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด -19 ที่ระบาดกันทั่วโลก นี่คือที่มาของการคิดค้นและเป็นจุดเริ่มต้น “ข้าวผัดสมุนไพร”

นางประเมินรัตน์ สุขนิมิต กล่าวอีกว่า ทางมูลนิธิฯ ได้ให้โจทย์เรื่องการประกอบอาหารด้วยสมุนไพร โดยใช้พืชผัก สมุนไพร และสิ่งของหรือวัสดุที่ประกอบอาหารที่มีอยู่ในชุมชนของเรา อาทิ การทำแพ็กเกจ (ห่อ ) ด้วยใบตอง เชือกผูก ใช้เชือกที่ทำด้วยกาบกล้วยเป็นต้น

ส่วนข้าวผัดสมุนไพรดังกล่าวขณะนี้ลงตัวอยู่ที่ 2 ประเภทที่ทางมูลนิธิฯจะได้นำจดสิทธิบัตรต่อไปได้แก่

 (1 ) ข้าวผัดสมุนไพร ที่เด็กเยาวชนสามารถรับประทานได้ซึ่งมีรสชาติที่เผ็ดร้อนไม่มากจนเกินไป (รสธรรมดา) แต่ก็มีความอร่อยในรสชาดสมุนไพรที่ปรุงสุก

 (2 ) ข้าวผัดสมุนไพรประเภทได้รสชาดจัดจ้านซึ่งนอกจากเครื่องปรุงที่มีสมุนไพรเหมือนๆกันแล้วแต่เพิ่มความเผ็ด และสีสัน ให้สวยงามดูโดเด่นขึ้นมาอีกคือปรุงด้วยพริกแกง (สีแดง) ก็จะได้รสชาดที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานอาหารประเภทออกรสเผ็ดๆ

ส่วนสมุนไพรที่นำมาประกอบเป็นข้าวผัดนั้น ก็มีอยู่ในชุมชน ซึ่งเราก็จะใช้ปรุงเป็นอาหารกันทุกครัวเรือนอยู่แล้วแต่เพียงว่าเราจะเอาประเภทของพืชสมุนไพร ประเภทอะไร ใส่เข้าไปในข้าวผัดแต่ละขั้นตอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีสีสันที่สวยงาม ที่สำคัญต้องอร่อย และสะอาดถูกสุขลักษณ์

นางประเมินรัตน์ เล่าว่า ส่วนสมุนไพรที่ใส่ลงไปในข้าวผัดนั้นล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น อาทิใบมะกรูดจะมีสรรพคุณเพิ่มภูมิต้านทานไข้หวัด ขิง กระชาย สรรพคุณ เพิ่มภูมิต้านทานการแบ่งตัวไวรัช หัวหอมแดง มีสรรพคุณลดการอักเสบ พริกไทย -กระเพรา สรรพคุณ ต้านไวรัส มะนาว สรรพคุณเสริมภูมคุ้มกัน ฯลฯ ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่เราได้นำมาปรุงเป็นข้าวผัดสมุนไพร ซึ่งมีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก “รับประทานอาหารให้เป็นยา มิใช่อยู่เพื่อกิน “ หากท่านใดที่สนใจอยากรับประทาน หรือจะสั่งเพื่องานจัดเลี้ยง งานประชุม สัมมนา หรือสังสรรค์ ก็สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ที่เบอร์  093- 535 -3350 (นางประเมินรัตน์)

นายสาทร คชวงษ์ / บรรณาธิการข่าว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *