Type to search

ศิลปะวัฒนธรรม

ผอ.พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำคณะและนักศึกษา ลงพื้นที่พัฒนาจัดทำนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ให้ชุมชน ที่วัดแก้วกระจ่าง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

Share

หลังจากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565  พระครูวิบูลย์วัตร  เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง และนายสมเกียรติ บริบูรณ์ (ลุงแจ้ง) พร้อมด้วยพระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรม และได้ขนย้ายวัตถุโบราณถ้วยโถ ชาม กระเบื้องดินเผาที่ นายสมเกียรติ (นายแจ้ง) เจ้าของพื้นที่นาที่ได้ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2563 ซึ่งตนได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 5 ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง นานนับปี  การย้ายในครั้งนี้มีโครงกระดูกที่มีอายุหลายพันปี จำนวน 9  โครง พร้อมทั้งถ้วย ชามกระเบื้องดินเผา เครื่องมือใช้สอย ของคนในยุคหินเก่า โดยเคลื่อนย้ายไป เพื่อเก็บยังพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่าง  หลังจากนางสาวเอกรัตน์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้ลงไปตรวจเยี่ยมที่บ้านของนายสมเกียรติ (ลุงแจ้ง ) ครั้งล่าสุด พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ เพื่อคัดแยกชิ้นส่วนของโบราณอาทิ ถ้วย ชาม ที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ใส่ภาชนะแยกไว้ เพื่อเตรียมการขนย้ายไปเก็บยังพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดส่วนหนึ่ง

ต่อมาวันที่ 26 กันยายน 2566 อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจสถานที่และความพร้อมในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและจัดทำนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่าง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นต้นมา โดยในครั้งนั้นได้มีการพบปะพูดคุยประเด็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติและการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง ร่วมกับพระครูวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง และครูวัฒนา เชื้อสุวรรณ์ ตัวแทนครูโรงเรียนวัดแก้ว วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำโดย อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ และนักศึกษาผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง แห่งนี้ โดยมี ผศ.ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. และ ดร.อธิวัฒน์ วัฒนะพิทักษ์สกุล ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสัตว์ ร่วมเป็นวิทยากรให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาและกระดูกสัตว์ด้วย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ.เข้าร่วมด้วย

 วันที่  22 กุมภาพันธ์ 2567 ทางทีมพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เข้ามาดำเนินการติดตั้งนิทรรศการและจัดวางวัตถุให้กับพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง พร้อมทั้งได้นำบัตรทะเบียนวัตถุที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีสีบัวทอง จำนวน 62 รายการ มอบให้กับทางพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง  โดยมี พระครูวิบูลย์วัตร เจ้าอาวาสวัดแก้วกระจ่าง เป็นผู้รับมอบ

ซึ่งพิพิธภัณฑ์วัดแก้วกระจ่าง แห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งโดยวัดและชุมชน เพื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ของแหล่งโบราณคดีสีบัวทอง ให้กับคนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณคดีในประวัติศาสตร์อีกด้วย

  เมื่อวันที่ 24  มีนาคม 2567  พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นำโดย อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ และนักศึกษาผู้สนใจ 40 กว่าคน ที่เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่างแห่งนี้ โดยใช้งบประมาณที่มีเพียงจำกัด

อ.ดร.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า จากการที่คณะทำงานรวมถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในแต่ละครั้งที่พานักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ เชิงปฏิบัติเพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของวัดแก้วกระจ่างแห่งนี้ ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงานเนื่องจากซากวัตถุหรือสิ่งของโบราณเหล่านี้กระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ต้องใช้ความพยายามในการค้นคว้าหา ชิ้นส่วนมาประกอบ และข้อมูลต่างๆเท่าที่มีอยู่ ส่วนเรื่องที่ทีมงานหรือคณะของนักศึกษา ที่ร่วมมาปฏิบัติการไม่สามารถอยู่ประจำที่วัดแก้วกระจ่างแห่งนี้ได้ โดยกำหนดลงพื้นที่เป็นคราวๆ สืบเนื่องด้วยโครงการดังกล่าวยังไม่มีงบประมาณจากหน่วยงานใด ของจังหวัดอ่างทองลงมาร่วมสนับสนุน

สาทร คชวงษ์ / บรรณาธิการข่าว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *