วาระประชาชน “การพัฒนาที่ถูกลืม”
Share
การพัฒนา ที่ถูกควบคุม ภายใต้กลไกและนโยบายรัฐ โดยประชาชนถูกกำหนดให้เป็นเพียงผู้รับสนองนโยบายและผลพ่วงนั้น แม้การพัฒนามิได้วางอยู่บนฐานประสงค์ร้ายต่อบ้านเมือง หากแต่การมุ่งหมายกับละเลยทุนทางสังคมด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะความคิดของชาวบ้าน ที่ต้องมีส่วนร่วมในสิทธิและหน้าที่ ทั้งทางตรง และทางอ้อมนับได้ว่าเป็นจุดอ่อนมากที่สุด
พัฒนาการของประชาชน หลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี ๒๕๓๙ และ ก่อเกิดรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ได้สร้าง มิติการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีความสำคัญต่อการสร้างรากฐาน การร่วมคิด ความมุ่งมั่น ลุ่มลึก โดยการผ่าน กลไกการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุปัญหา แนวทางแก้ไข แผนงาน กิจกรรม ความต้องการของชุมชน สร้างการเรียนรู้ใหม่ ร่วมพัฒนา แก้ไขปัญหาชุมชนตนเอง สร้างพื้นที่ ต้นแบบการเรียนรู้ ทิ้งรองรอยให้เห็นไว้ ในบางพื้นที่
ความสำเร็จและความล้มเหลว การแข่งขัน ขัดแย้ง แย่งชิง ปรากฏให้เห็นเป็นธรรมชาติของการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นที่เป็นเพราะระบบการพัฒนาที่ตามกันไม่ทัน นับเวลาเป็นวงรอบ ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ที่ใช้กลไกรัฐ ส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น ในการทำหน้าบริหารบ้านเมืองเป็นหลัก งบประมาณ บนฐานการกำหนดให้ มิใช่บนฐานการส่วนร่วม ความเท่าเทียมและคุณภาพที่ชอบธรรม ส่งผลด้อยความเข้มแข็งวันนี้
วาระประชาชน…เพื่อ…ประชาชน วาระประชาชน…เพื่อ…สมดุล วาระประชาชน…เพื่อ…ยั่งยืน
การศึกษาพื้นที่และการจัดเวทีเรื่อง สิทธิเสรีภาพหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชน ร่วมกับเครือข่าย กลุ่มองค์กร ภาคประชาชนและภาครัฐบางส่วน สะท้อนภาพใหญ่ กับปัญหาทั้งภาครัฐและขีดความสามารถในตัวตนของประชาชนในความเข้าใจในสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมที่เข้าใจเพียงพอ กับโอกาสและสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาที่มี เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ การเรียนรู้ กำหนด ข้อเสนอเชิงพัฒนา ด้วยตนเอง
ธรรมชาติประชาชน มีตัวตนที่ต่างกันมี จุดยืน ตนเองและการ ก้มหมอบ ยอมรับ บอกถึงความต่าง ในความคิด ปฏิบัติต่อสังคมสาธารณะ บางกลุ่มมีผลงานแบบ เวลา ๕ นาที ได้รูปเป็น ๑๐๐ แต่ความรู้หาไม่พบ บางกลุ่มเชี่ยวชาญการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ แต่ผลงานเป็นแบบ ก๊อบปี้ กันมาก็ผลที่ได้จึงไม่ต่างกับภาครัฐ
วาระประชาชน คือ กำลังประชาชน วาระประชาชน คือ การมีส่วนร่วมประชาชน วาระประชาชน คือ คืนอำนาจประชาชน
เครื่องมือที่สร้างวาระประชาชนที่มีอยู่แล้ว คือ มี สภาองค์กรชุมชน พัฒนาความเข้มแข็งขบวนชาวบ้าน มี สภาเกษตรกร ในการวางแผนการผลิต การใช้น้ำ การตลาดการเกษตรกรรม
มี กองทุนพัฒนาสตรี พัฒนาครอบครัว พัฒนาสังคม มี สภาวัฒนธรรม ในการพัฒนาวัฒนธรรม ประเพณี คุณธรรม สังคม
มีธรรมนูญสุขภาพตำบล มี กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) มีกรรมการเขตสุขภาพ (กขป.) ในการป้องกันสุขภาพประชาชน มี กองทุนสวัสดิการชุมชนและสังคม ในการสนับสนุนกิจกรรมประชาชน
มี แผนพัฒนาจังหวัด ที่เชื่อมโยงแผนชุมชน แผนหมู่บ้าน แผนท้องถิ่น แผนอำเภอ เป็นแผนที่ตอบสนองการใช้งบประมาณ จังหวัดและส่วนกลาง มี มีข้อบัญญัติท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น
มี กรรมการศึกษาจังหวัด ( กศจ. ) ในการดูแลการเรียน การสอน ครู โรงเรียน ให้มีคุณภาพ มี คณะกรรมการธรรมาภิบาล ในการช่วยดูและความถูกต้องดีงามในการบริหารจัด กานบ้านเมืองที่ดี มี ศูนย์ดำรงธรรม ที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนที่เท่าเทียม
มี ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐตรี ภาคประชาชน ๔ ด้าน เพื่อการรับรู้ที่ครบด้าน
ในการบริหารบ้านเมืองที่ดี
ฯลฯ
ประชาชนมีส่วน ได้ใช้ ใช้ได้ ใช้เป็น กับเครื่องมือที่มีอยู่ เพียงใด หรือเป็นได้เพียงผู้รอคอยการชี้นำ การสั่ง รอโอวาท และทำตามเท่านั้น…..
โดย…สุรินทร์ นิลเลิศ