Type to search

ศาสนา

วัดฝาง ตำนานโบสถ์มหาอุตม์ เกจิดังลุ่มแม่น้ำน้อย

Share

วัดฝาง  ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 7  ตำบลไผ่จำศีล  อำเภอวิเศษชัยชาญ  จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  เป็นวัดราษฎร์  มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่  20 ไร่  ตามหลักฐานของกรมที่ดิน  เจ้าของที่ดินชื่ออำแดงเนต (โสด)  ทิศเหนือติดแม่น้ำน้อย  ทิศใต้ติดถนนวิเศษชัยชาญหมู่บ้านไผ่จำศีล  ทิศตะวันออกติดที่ดินเอกชน และทิศตะวันตกติดแม่น้ำน้อยมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง โฉนดที่ 6070 อยู่ติดทุ่งไผ่จำศีล   มีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา  เจ้าของที่ดินชื่ออำแดงเนต(โสด)

วัดฝาง สร้างขึ้นเมื่อก่อน พ.ศ. 2300 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง มีอุโบสถมหาอุตม์ กว้าง 6  เมตร ยาว 7.5 เมตร พระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ พ.ศ. 2320 มีพระศรีอารยเมตไตรและพระเชียงแสนปางขัดสมาธิเพชร รอยพระพุทธบาทสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มี หอสวดมนต์ไม้สักทองทั้งหลัง เจดีย์เก่าแก่ หน้าวิหารหน้าต่างเวลามหัศจรรย์ที่ต้นโพธิ์ อนุรักษ์ไว้ให้ชมใช้เป็นลานธรรมเหมาะสมอย่างยิ่ง  ต้นไม้ยืนต้นอายุ 200 ปีขึ้นไปหลากหลายชนิดให้ชม เช่นต้นโพธิ์  ต้นตะเคียน ต้นมะพลับ ต้นพิกุล ต้นสำโรง ต้นสารภี ต้นปีบ ต้นกรวย และต้นฝางนามเดียวกับชื่อวัดที่นำมาเป็นยาอุทัย

มีอุปัชฌาย์ทองดี  เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก  ท่านเป็นเจ้าคณะแขวงและเป็นพระหมอโบราญ มีกุฏิไม่กี่หลัง เดิมสร้างอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ใกล้กับต้นขนาบในปัจจุบัน ท่านนำท่อนไม่ใหญ่มาขุดเป็นเรือยาว   จำนวน 50 ฝีพาย บางครั้งใช้นั่งเดินทางไปเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบทตามกิจนิมนต์  และในที่สุดชาวบ้านได้นำเรือดังกล่าวไปแข่งขันเพื่อความสามัคคี  สนุกตามประเพณีจนมีชื่อเสียง  สืบเนื่องมาหลายสมัย ที่มีชื่อว่า ‘ แม่ทองคำ” กับ “ช้างร้อง” ปัจจุบันวัดฝางไม่มีเรือดังกล่าวแล้ว อดีตวัดในละแวกบ้านยืมไปพายเข่งขันตามเทศกาลและประเพณีเป็นเวลานานมาก

ต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ 2  พระอธิการโห้ (สกุลเดิม  มาดีประเสริฐ) ซึ่งเป็นชาวบ้านใต้วัดฝาง ได้ริเริ่มนำญาติมากถากถางปรับสภาพสถานที่ด้วยการขนทราย    มาถมพัฒนาสถานที่และย้ายวัดมาสร้างในที่ปัจจุบัน  มีหอสวดมนต์ที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง  มีเสาไม้สักทรงแปดเหลี่ยมตลอดทุกต้นทั้งหลัง  พื้นไม้อัดเรียบร้อยสวยงามหาดูได้ยาก ทราบข้อมูลที่หน้าจั่วมีอักษรฉลุด้วยไม้สัก บูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2472 โดยช่างชาวจีนอพยพมาอยู่ในหมู่บ้านไผ่จำศีลติดกับวัดฝางนั้นเอง รวมอายุการก่อสร้างประมาณ 100 ปี และกุฏิทรงไทยจากผู้มีจิตศรัทธาได้ถวายวัด จำนวน 6 หลัง จากนั้นมีเจ้าอาวาสสืบทอดต่อมาพัฒนาวัดด้วยความเจริญรุ่งเรืองตลอดเวลา

สมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 5  พระอาจารย์สนั่น จนฺทวณฺโณ  พ.ศ. 2495 – 2500 ยุคนี้ที่พระเกจิอาจารย์ นามว่าหลวงพ่อกลุ่ม เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านเป็นพระที่มีวิทยาอาคม เรื่องปราบคุณไสย  หมอโบราณรักษา โรคภัยต่างๆได้จนได้รับฉายาว่า  จอมขมังเวทย์ เกจิดังแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย  มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในอดีต การคมนาคมมาวัดฝางต้องมาทางน้ำเท่านั้น

            “หลวงพ่อกลุ่ม  พุทธิญาโณ” ได้รับการยกย่องให้เป็นเกจิ แห่งลุ่มแม่น้ำน้อย เนื่องจากพุทธศาสนิกชนให้ความเลื่อมใสและศรัทธาเป็นยิ่งนัก ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม ชื่อเสียงของ หลวงพ่อกลุ่ม พระเกจิลุ่มแม่น้ำน้อยแห่งนี้ก็ยังเป็นที่ศรัทธาและเลื่อมใสจนปัจจุบัน แม้แต่วัตถุมงคลของท่านซึ่งในยุคนี้ยังโด่งดังไม่แพ้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และมีมีราคาแพง ผู้คนต่างที่จะหาเช่าบูชากัน

สมัยนั้นมีการปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหอขวางด้านตะวันออก  1  หลัง (หอสวดมนต์) ศาลาท่าน้ำ 1 หลังหอระฆัง 1 หลัง พร้อมทั้ง ฌาปนสถาน ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 32 เมตรหลังจากนั้นมีเจ้าอาวาสสืบทอดพัฒนาวัดมาด้วยความเจริญรุ่งเรืองตามกาลสมัยต่อมา 

ยุคบุกเบิกการสร้างอุโบสถหินทรายประยุกต์ โดยเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2530- 2558 โดยพระครูธรรมรัต (สมพงษ์ อริยวงฺโส) เจ้าอาวาสองค์ที่ 10 ขณะนั้นอุโบสถหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมลงมาก  ท่านได้ริเริ่มร่วมกับชาวบ้านจำนวนหนึ่ง  เริ่มด้วยการรับบริจาคทรัพย์ จากการทอดผ้าป่าสามัคคีในการหาทุนสร้างอุโบสถหินทรายหลังนี้ และได้กำหนดวางศิลาฤกษ์อุโบสถหินทรายประยุกต์หลังนี้ และได้นำเนินการก่อสร้างต่อๆมานานถึง 26 ปีจึงแล้วเสร็จ

คราวต่อมาได้มีการแต่งตั้งจากคณะกรรมการของวัด และมีพระยศพร จนฺทสีโล (รักษาการแทน / เจ้าอาวาส ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 12 วัดฝางแห่งนี้ ตั้งแต่  8 มี.ค. 2559 – 2563  จึงได้พร้อมใจกันจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต อุโบสถหินทรายประยุกต์หลังนี้ โดยได้กำหนดพิธี ฯ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2562  ถึงวันที่ 4 มกราคม 2563

รายนามเจ้าอาวาส (อดีต – ปัจจุบันเรียงตาลำดับดังนี้

1 พระอุปัชฌาย์ ทองดี พ.ศ. 2300     2 พระอธิการโห้ (สกุลเดิม มาดีประเสริฐ ) พ.ศ.2480

3 พระอธิการจัน (สกุลเดิม สิงหนาท) พ.ศ. 2480-2494     4 พระมหาทวี จนฺทวณฺโณ พ.ศ. 2495-2500

5 พระอธิการสนั่น จนฺทโชโต พ.ศ. 2501 – 2511     6 พระไล้ พ.ศ. 2512-2517

7 พระชิต มนฺญโญ พ.ศ. 2518 – 2522     8 พระพร้อม ฐิตมนฺโต พ.ศ. 2523- 2526

9 พระไพบูลย์ วิปุโล พ.ศ. 2527- 2530     10 พระครูธรรมรัต (สมพงษ์ อริยวงฺโส) พ.ศ. 2530- 2558

11 พระมหารัตนโยธิน วุทฒิสีโล รักษาการฯ พ.ศ. 2558-2559     12 พระยศ จนฺทสีโล (รักษาการ/เจ้าอาวาส ) พ.ศ. 2559- 2563

13 พระมหาสุรศักดิ์ ยโสธโร พ.ศ. 2563- 2564    14 พระครูปริยัติภัทรกิจ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 66 คณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์ ภาค 2 ได้มีการแต่งตั้งพระครูปริยัติภัทรกิจ เป็นเจ้าอาวาสวัดฝางตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และเป็นอันดับที่ 14 ของวัดแห่งนี้ถึงปัจจุบันนี้   

พระครูปริยัติภัทรกิจ เป็นเจ้าอาวาสรูปหนึ่งที่มีพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอ่างทองให้ความเลื่อมใสและศรัทธา อีกทั้งยังเป็นพระนักปฏิบัติทางธรรม เป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เป็นพระนักพัฒนาซึ่งได้รับความเคารพเลื่อมใสจากญาติโยมในละแวกใกล้และไกลเป็นอย่างดี เมื่อท่านเอ่ยปากจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะได้รับการยอมรับและสนับสนุนเห็นพร้องต้องกัน โดยไม่ขัดแย้งกัน ยังส่งให้เห็นผลงานจากพระนักพัฒนารูปนี้ได้อย่างชัดเจน หลังจากได้รับการแต่งตั้ง ฯ พระครูปริยัติภัทรกิจได้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธสีวลี ในสถานที่อันควรไว้ภายในวัดให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ อีกทั้งสร้างแพปลาหน้าวัด (แม่น้ำน้อย) เป็นศูนย์รวมใจในการสร้างทานบารมี จัดสร้างสวนหย่อมให้มีน้ำตกเข้ากับป่าไม้ภายในวัด (สวนป่า)ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจใกล้กับลานธรรม อีกทั้งจัดงานลอยกระทงตามประเพณี –วัฒนธรรม กระทงสาย (บริเวณริมแม่น้ำน้อย ) เป็นศูนย์รวมความรัก ความสามัคคี อนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ คู่กับสายน้ำโดยได้รับเกรียติจากนายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ฯพณฯ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งข้าราชการร่วมพิธีฯ เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา เป็นเจ้าภาพในการติดตั้งโคมไฟฟ้าระย้า ไฟฟ้าฯลฯ ติดตั้งฉัตรคู่ เทียนไฟฟ้าคู่ ปูพรหมในโบสถ์หินทรายประยุกต์  จัดทำโต๊ะตั้งรอยพระพุทธบาทในโบสถ์มหาอุตม์ เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำพระสงฆ์และผู้มาเยือน และห้องน้ำผู้พิการ รวมจำนวน 12 ห้องแทนห้องน้ำหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม

ขอเชิญชวนร่วมพิธีทำบุญบูรพาจารย์ (วันคล้ายวันมรณะหลวงพ่อกลุ่ม และอดีตเจ้าอาวาสของวัดฝาง)

ในวันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น ทางวัดโดยพระครูปริยัติภัทรกิจ พร้อมด้วยคณะกรรมการและสาธุชนได้ประชุมเห็นพร้องต้องกันจะจัดพิธีทำบุญบูรพาจารย์ (วันมรณะหลวงพ่อกลุ่มและอดีตเจ้าอาวาสของวัดฝาง)  และจะจัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้นเพื่อหาทุนสมทบการจัดตั้งกองทุนพัฒนาวัดฝาง เพื่อมาใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ ค่าช่างในการบูรณะปฏิสังขรณ์ที่จำเป็นในกิจการภายในวัด เป็นค่าน้ำค่าไฟของวัด

จึงขอเชิญชวนสุชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ หรือบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธาของท่าน  เพื่อนำรายได้ไปสมทบกองทุนพัฒนาวัดฝางต่อไปโดยผ่านช่องทางดังนี้ พระครูปริยัติภัทรกิจ เจ้าอาวาสวัดฝาง  ประธานสงฆ์ โทร 092-9514793 ,นายชูชีพ วุฒิวัย ไวยาวัจกร ประธานดำเนินงาน 081-9252598,ร้อยตำรวจโทสันติไชย จันทรประยงค์ ผู้ประสานงาน หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี กองทุนพัฒนาวัดฝาง เลขบัญชี 138- 0 – 15957 – 1 สาขาวิเศษชัยชาญ โทรสอบถามข้อมูลที่พระครูปริยัติภัทรกิจ เจ้าอาวาสวัดฝาง โทร 092-9514793

สาทร คชวงษ์ / บรรณาธิการข่าว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *